วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีแก้ แถบสีบนตัวอักษรไอคอน

Mycomputer มาที่ properties Advance Perfomance Setting  ติ๊ก use drop shadows for icon labels on the desktop

วิธีแก้ Icon แต่ตัวหนังสือเป็น สีน้ำเงินหรือสีฟ้า

เปิด Mycomputer มาที่ tools FolderOptions View show Encrypled or compressed NTFS Files incolor เอาเครื่องหมายขีดถูกออก Apply OK

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นามสกุลไฟล์วีดีโอ

นามสกุลไฟล์วีดีโอ

ไฟล์ AVI


สำหรับไฟล์ AVI ถ้าพูดไปแล้วหลายคนต้องรู้จักแน่ๆ เพราะเป็นไฟล์วิดีโอที่ดูผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกพัฒนาจากไมโครซอฟท์ โดยภายในไฟล์ .avi มาพร้อมกับภาพ และเสียงพร้อมกัน มีความคมชัดของภาพ และเสียงที่สมจริง ส่วนใหญ่จะนำมาเป็นต้นฉบับของไฟล์วิดีโอบนแผ่นดีวีดี


ซึ่งไฟล์ AVI นี้มหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้ว่า จะเห็นเป็นไฟล์ .avi ก็ตาม แต่จะแตกต่างกันตามรูปแบบของการ encode ของไฟล์นั้น ไม่ว่าจะเป็น DivX codec, XVID codec เป็นต้น หากเป็นไฟล์ avi ธรรมดาทั่วไปเราก็สามารถใช้โปรแกรม Windows Media Player เปิดดูได้ทันที แต่หากเปิดไม่ได้คงต้องหาโปรแกรมอื่น หรือไม่ก็ต้องไปดาวน์โหลดไฟล์ codec จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์มาติดตั้งภายในเครื่องถึงจะเปิดได้


วิธีแก้ไขเบื้องต้น หากต้องการเปิดไฟล์ AVI ด้วยโปรแกรม Windows Media Player ก็คือ ให้ไปดาวน์โหลดตัว Codec จากเว็บไซต์ไมโครซอฟท์ (www.microsoft.com) จากนั้นก็ให้ดับเบิลคลิกไฟล์ดังกล่าวเพื่อติดตั้ง Codec เพิ่ม แต่ที่สำคัญโปรแกรม Windows Media Player ของคุณต้องเป็นเวอร์ชัน 11


ไฟล์ XVID


เกิดจากกลุ่มนักพัฒนาอิสระ ที่พัฒนารูปแบบการบีบอัดบนพื้นฐานของ mp4 เหมือนกับ DivX แต่ XviD เป็น Open Source คือ ได้เผยแพร่ให้มีการพัฒนาจากนักพัฒนาทั่วโลก เนื่องจากว่ามาตรฐานการบีบอีกของ XviD ใช้เป็นแบบ ASP (MPEG-4 Advanced Simple Profile) ไฟล์ XviD จึงสามารถเล่นบนโปรแกรมหรือเครื่องเล่น DVD ที่สามารถเล่นไฟล์ MP4 หรือ DivX ได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น กรุณาตรวจสอบเครื่องเล่นของท่านตามเว็บไซต์ว่าเครื่องเล่นของท่านสนับสนุนไฟล์ XviD ด้วย หากท่านต้องการเล่นไฟล์ Xvid บนเครื่องคอมพิวเตอร์ท่านจะต้องติดตั้ง Xvid Decoder ซึ่งหาได้ตามเว็บไซต์ทั่วไปเช่นกัน


ไฟล์ DivX


จะมีนามสกุลเป็น .avi หรือ .divx แต่ไฟล์ .avi ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟล์ DivX เสมอไป ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่างไฟล์ DivX กับ avi ธรรมดาก็คือ ไฟล์ DivX สามารถเล่นพร้อมกับเลือกแสดง Subtitle ได้ หลายภาษา โดยปรับที่ Remote Control บนเครื่องเล่น dvd หรือ หากท่านใช้โปรแกรมเช่น Windows Media Player เล่นไฟล์ประเภทนี้ ท่านอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรม แสดง subtitle เพิ่มเติม เช่นโปรแกรม Direct Vobsub เพื่อให้ subtitle ปรากฏไปพร้อมๆกับการรับชมภาพยนตร์ด้วย


ไฟล์ 3GP


ใครมีมือถือคงต้องรู้จัก 3gp แน่ๆ เพราะเป็นไฟล์วิดีโอที่สามารถเปิดดูได้จากโทรศัพท์มือถือทั่วไป ซึ่งไฟล์ประเภทนี้เป็นไฟล์วิดีโอที่มีขนาดเล็กกว่าไฟล์วิดีโอทั่วไป เพราะด้วยข้อจำกัดของการเปิดดูจำเป็นต้องดูจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ทำให้ต้องถูกบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก และสิ่งที่ตามมาก็คือ เมื่อขนาดไฟล์เล็กแล้ว คุณภาพของภาพก็ต้องด้อยลง


แต่หากใครไปดาวน์โหลดไฟล์ 3gp จากอินเทอร์เน็ตแล้วจะมาเปิดดูในคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดูหนังทั่วไปไม่สามารถเปิดได้ ต้องใช้โปรแกรม Nokia Multimedia Player หรือไม่ก็ต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ตมาเปิดดู


ไฟล์ MKV


ไฟล์ประเภทนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไร แต่ถ้าเป็นคนที่ท่องอินเทอร์เน็ตจริงๆ ต้องเคยเจอกันบ้าง ซึ่งไฟล์ประเภท MKV มีรูปแบบคล้ายๆ กับ MP4 หรือ AVI ที่สามารถบรรจุภาพ และเสียง พร้อม subtitle ให้อยู่ในไฟล์เดียวได้ ซึ่งคุณภาพของภาพและเสียงไม่แตกต่างกันเลย แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ MKV เป็นไฟล์แบบ Open Source ที่นักพัฒนาทั่วไปสามารถช่วยพัฒนาต่อยอดให้ไฟล์นี้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
มาทรอสกามัลติมีเดียคอนเทนเนอร์ (อังกฤษ: Matroska Multimedia Container) เป็นการเข้ารหัสไฟล์ประเภท วีดีโอ โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงไฟล์จาก แผ่นวีดีโอ มาเป็นไฟล์เดียว
ชื่อภาษาอังกฤษ มาทรอสกา (Matroska) แผลงมาจาก มาตริออชคา ในภาษารัสเซีย หมายถึงตุ๊กตาแม่ลูกดก


ไฟล์ FLV


หากใครชอบดูวิดีโอผ่านเว็บคงคุ้นเคยกันบ้าง เพราะเป็นไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายบนเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านเว็บไซต์ ซึ่ง FLV คือไฟล์วิดีโอที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Macromedia Flash เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก แต่คุณภาพดีกว่าไฟล์ 3gp สามารถเปิดดูได้จากโปรแกรม Flash Player หรือ QuickTime จากแอปเปิ้ลก็ได้ ทำให้หลายเว็บนิยมแปลงไฟล์ให้เป็น FLV เพื่อง่ายต่อการชมผ่านเว็บไซต์

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Android แอนดรอยด์ คืออะไร และ Google Android คืออะไร

แอนดรอยด์ (Android) กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) หรือ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android Operating System) เป็นชื่อเรียกชุดซอฟท์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม (Platform) สำหรับอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ที่มีหน่วยประมวลผลเป็นส่วนประกอบ อาทิเช่น คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ (Telephone), โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell phone), อุปกรณ์เล่นอินเตอร์เน็ตขนาดพกพา (MID) เป็นต้น แอนดรอยด์นั้น ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 โดยบริษัท กูเกิล จุดประสงค์ของแอนดรอยด์นั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากบริษัท Android Inc. ที่ได้นำเอาระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ซึ่งนิยมนำไปใช้งานกับเครื่องแม่ข่าย (Server) เป็นหลัก นำมาลดทอนขนาดตัว (แต่ไม่ลดทอนความสามารถ) เพื่อให้เหมาะสมแกการนำไปติดตั้งบนอุปกรณ์พกพา ที่มีขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่จำกัด โดยหวังว่า แอนดรอยด์ นั้นจะเป็นหุ่นยนต์ตัวน้อย ๆ ที่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่พกพามัน ไปในทุกที่ ทุกเวลา

กูเกิลแอนดรอยด์ เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเจ้าแอนดรอยด์ เนื่องจากปัจจุบันนี้ บริษัทกูเกิล เป็นผู้ที่ถือสิทธิบัตรในตราสัญญาลักษณ์ ชื่อ และ รหัสต้นฉบับ (Source Code) ของแอนดรอยด์ ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาแบบ GNL โดยเปิดให้นักพัฒนา (Developer) สามารถนำรหัสต้นฉบับ ไปพัฒนาปรับแต่งได้อย่างเปิดเผย (Open source) ทำให้แอนดรอยด์มีผู้เข้าร่วมพัฒนาเป็นจำนวนมาก และพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
แอนดรอยด์เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2550 ปัจจุบันมีผู้ร่วมพัฒนากว่า 52 องค์กร ประกอบด้วยบริษัทซอฟท์แวร์ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ บริษัทผู้ให้บริการเครือข่าย และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ฯลฯ


ประเภทของชุดซอฟท์แวร์ เนื่องจาก แอนดรอยด์นั้นเปิดให้นักพัฒนาเข้าไปชมรหัสต้นฉบับได้ ทำให้มีผู้พัฒนาจากหลายฝ่ายนำเอารหัสต้นฉบับมาปรับแต่ง และสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนเองขึ้น เราจึงแบ่งประเภทของแอนดรอยด์ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Android Open Source Project (AOSP) เป็นแอนดรอยด์ประเภทแรกที่กูเกิลเปิดให้สามารถนำ “ต้นฉบับแบบเปิด” ไปติดตั้งและใช้งานในอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได ๆ
2. Open Handset Mobile (OHM) เป็นแอนดรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา ที่เข้าร่วมกับกูเกิลในนาม Open Handset Alliances (OHA) ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา โดยรูปร่างหน้าตาการแสดงผล และฟังค์ชั่นการใช้งาน จะมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีลิขสิทธิ์เป็นของตน พร้อมได้รับสิทธิ์ในการมีบริการเสริมต่าง ๆ จากกูเกิล ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ทำให้แอนดรอยด์มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามจุดประสงค์ของแอนดรอยด์ แต่การจะได้มาซึ่ง GMS นั้น ผู้ผลิตจะต้องทำการทดสอบระบบ และขออนุญาตกับทางกูเกิลก่อน จึงจะนำเครื่องออกสู่ตลาดได้
3. Cooking หรือ Customize เป็นแอนดรอยด์ที่นักพัฒนานำเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่าง ๆ มาปรับแต่ง ในแบบฉบับของตนเอง โดยจะต้องทำการปลดล๊อคสิทธิ์การใช้งานอุปกรณ์ หรือ Unlock เครื่องก่อน จึงจะสามารถติดตั้งได้ โดยแอนดรอยด์ประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่มีความสามารถมากที่สุด เท่าที่อุปกรณ์เครื่องนั้น ๆ จะรองรับได้ เนื่องจากได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ จากผู้ใช้งานจริง

สิทธิ์ในการใช้งานระบบ เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการทั่วไป ที่มีการจำกัดการใช้งาน และการเข้าถึงส่วนต่าง ๆภายในระบบ เพื่อความปลอดภัยของระบบ และ ผู้ใช้งาน อุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบแอนดรอยด์จึงมีการจำกัดสิทธิ์ไว้ (เว้นแต่ได้ทำการปลดล๊อคสิทธิ์ หรือ root เครื่องแล้ว) สามารถแบ่งสิทธิ์ของผู้ใช้ในการเข้าถึงระบบคร่าว ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. สิทธิ์ root สิทธ์การใช้ใช้งานระดับราก ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของระบบ จึงมีความสามารถในการเข้าถึงทุก ๆ ส่วนของระบบ
2. สิทธิ์ ADB (Android Develop Bridge) นักพัฒนาสามารถเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของระบบได้ผ่านสิทธิ์นี้
3. Application & System สิทธิ์ของโปรแกรมในการเข้าถึงระบบ และสิทธิ์ของระบบในการเข้าถึงอุปกรณ์ โดยสิทธิ์เหล่านี้ ตัวระบบจะเป็นตัวจัดการมอบและถอนสิทธิ์ ตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นหลายหัวข้อ (http://developer.android.com/reference/android/Manifest.permission.html)
4. End-user ผู้ใช้งานขั้นสุดท้าย ซึ้งก็คือ คุณ และ คุณ ทั้งหลาย ที่ใช้การเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของระบบผ่านช่องทางสิทธิ์ที่โปรแกรมได้รับอีกที โดยจะถูกจำกัดไม่ให้เข้าถึงในส่วนที่เป็นอันตรายต่อแกนระบบและอุปกรณ์

จากด้านบนจึงเป็นที่มาของคำว่า “รูธเครื่อง” ซึ่งหมายถึงการทำให้ End-user สามารถใช้งานระบบได้ในถานะ root ผ่านแอพพลิเคชั่น Superuser permission การรูธจึงเปรียบเสมือนดาบสองคม ซึ่งผู้ใช้ที่ต้องการจะรูธเครื่องตนเองนั้น ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับแอนดรอยด์ในระดับสูง และมีความชำนาญในการใช้งานตัวเครื่องเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจเป็นการเปิดทางให้โปรแกรมบุคคลที่สามสร้างความเสียหายให้แก่ เครื่อง และระบบได้

ข้อจำกัดของแอนดรอยด์ แอนดรอยด์ ที่ดีนั้นจะต้องมี GMS ซึ่งก็จะต้องขึ้นอยู่กับกูเกิลว่าผู้ผลิตเครื่องไหน สามารถสำเอา GMS ไปใช้ได้บ้าง โดยจะต้องได้รับการยอมรับ และอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร จากผู้ถือสิทธิบัตรซึ่งก็คือ กูเกิล เสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะเผยแพร่ได้ หากแต่เป็นการเผยแพร่ในเชิงพัฒนา หรือแจกฟรีนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้ทางกูเกิลอนุมัติก็ได้ ส่งผลให้อุปกรณ์บางรุ่นถูกจำกัดความสามารถในการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้ GNL สิทธิบัตร จึงเป็นการเปิดโอกาศให้มีการพัฒนาได้อย่างอิสระ ทำให้ข้อจำกัดต่าง ๆ หมดไป เมื่อมีคนใช้ก็ย่อมมีคนแก้ ยิ่งใช้เยอะยิ่งมีคนช่วยแก้เยอะ

32 bit กับ 64 bit ต่างกันอย่างไร


32 bit กับ 64 bit ต่างกันอย่างไร

ใน Computer Architecture นั้น 64-bit เป็นการขยายของการใช้ integer,floating point, memory address

หรือ ชนิดข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องการใส่ข้อมูลที่มีขนาด ความกว้างของข้อมูลมากถึง 64 bit (8 octets)

โดยที่รายละเอียดของ CPU และสถาปัตยกรรม ALU บน register, address buses, หรือ data buses ต้องมีขนาดเท่านั้นด้วย

โดย ในปี 2004 ได้มี CPU 64-bit CPU เป็นพื้นฐานสำหรับตลาดระดับ Server และเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่สายการผลิต

หลักของตลาด Personal Desktop โดยการเข้ามาของ AMD64 (AMD), EM64T (Intel) และ PowerPC 970 (G5 จาก IBM)


ความเหมือนที่แตกต่างของ CPU 32-bit และ 64-bit

    นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ปริมาณข้อมูล ที่ใช้ในการประมวลผลต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกามีจำนวนมากขึ้น อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

การเปลี่ยนแปลงจาก 16-bit ในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อนมา 32-bit ในปัจจุบัน และกำลังก้าวเข้าสู่โลก 64-bit ได้สร้างปรากฎการณ์

ใหม่ให้กับโลกคอมพิวเตอร์ได้อย่างมากมาย ทั้งในด้านจำนวนข้อมูลที่ส่งต่อในระบบภายในที่มีจำนวนมากขึ้นและ

ความเหมือนจริงในการทำงานด้านมัลติมีเดียต่างๆ มากมาย ยังผลให้ ข้อมูลที่เข้าสู่กระบวนการประมวลผลนั้นมากตามไปด้วย

ไม่ได้เกี่ยวข้องในส่วนของความเร็วในการประมวลผลแต่เป็นเพียงเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลต่อชุดในการประมวลต่อครั้งเท่านั้น

      จากที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่าความแตกต่างในทั้งสอง ไม่ได้แตกต่างกันที่ความเร็ว ขยายความให้เข้าใจได้ง่ายคือ

สัญญาณนาฬิกายังคงมีความเร็วเท่าเดิม แต่ความหนาแน่นของข้อมูลต่อชุดคำสั่งมีมากขึ้นนั้น

เราอาศัยการเปรียบเทียบที่ memory addrees ระหว่าง 32-bit และ 64-bit

โดยที่ 32-bit นั้นมี memory address ได้ 4Gbytes เท่านั้นแต่ใน 64-bit นั้น มี memory address ถึง 16 Ebytes

(~17,179,869,184 Gbytes) ทำให้เกิดความได้เปรียบในด้านความเร็วในการทำงานใน software ที่ต้องการการไหลของ

ข้อมูลในปริมาณที่มาก ๆ เช่นการเล่นเกม, ระบบฐานข้อมูลใหญ่ ๆ ,ระบบที่ต้องการความละเอียดต่อการ ประมวลผลมาก ๆ

เช่นการ Simulate, Render,Retouch, Lenear Editing ฯลฯ แต่หากเป็น software โดยทั่วไปแล้วแทบจะไม่เห็นความแตกต่าง

แต่อย่างใด  "ปัญหา ของระบบ 32-bit ที่ทำให้เกิด 64-bit ขึ้นมาในปัจจุบันคือ ขนาดของหน่วยความจำหลัก (RAM Memory)

มีจำกัดเกินกว่าจะยอมรับได้แล้ว"


CPU 32-bit นั้นมีความต้องหน่วยความจำหลักได้มากสุดที่ 4Gbytes เท่านั้น แล้ว 4Gbytesมาจากไหนหล่ะ ?

คำตอบคือ 32-bit register นั้นมาจาก 2 ยกกำลัง 32 หรือมีขนาดที่ 4Gbytes ของหน่วยความจำหลัก (RAM memory) นั้นเอง

นั้นหมายความว่า CPU 64-bit นั้นมีความต้องหน่วยความจำหลักได้มากสุดที่ ….. 16 Ebytes * (~17,179,869,184 Gbytes) นั้นเอง

ซึ่งมาจาก 2 ยกกำลัง 64หรือมีขนาดที่ 16 Ebytes ของหน่วยความจำหลัก (RAM memory)* Ebytes อ่านว่า เอ๊กซาไบท์(Exabyte)

2 กำลัง 32 = 4,294,967,296 bytes=~ 4 Gbytes

2 กำลัง 64 = 18,446,744,073,709,551,616 bytes = ~ 16 Ebytes หรือ 17,179,869,184 Gbytes




แล้วมันแตกต่างกันตรงไหนในด้านการ ประมวลผล ?

     การประมวลผลจริง ๆ แล้วไม่แตกต่างกันในเชิงความเร็วมากนัก ดังที่ได้กล่าว แล้วแต่จะแตกต่างนั้นอยู่ที่ความหนาแน่นของ

ข้อมูลที่ประมวลผลต่อสัญญาณ นาฬิกามีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คุณชมภาพยนต์ในจอคอมพิวเตอร์จากแผ่น VCD

(เทียบได้กับ 32-bit) และ DVD (เทียบได้กับ 64-bit) ถ้าคุณได้รับชมผ่าน VCD ในจอคอมพิวเตอร์คุณได้ภาพที่เล็ก

และไม่ละเอียด เท่ากับ DVD ที่มีภาพที่ละเอียดกว่า และยังขยายขนาดของภาพให้ Full Srceen ได้โดยภาพไม่แตกเหมือน VCD 

คุณเล่นเกม ภาพที่ได้จะมีมิติมากขึ้นกว่าเดิม แสงเงาต่าง ๆ จะสมจริงมากขึ้นแต่ไม่ได้ทำให้การประมวลเร็วขึ้นแต่อย่างใด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับ Software ที่นำมาทำงานร่วมกับ CPU 64-bit ด้วยว่าสนับสนุนการทำงานนี้

หรือไม่มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถใช้งาน CPU 64-bit ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังที่ตั้งใจไว้

สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า 64-bit เป็นการทำให้การประมวลผลต่อครั้งมีความละเอียดมากขึ้น ไม่ใช่เร็วมากขึ้นอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ

แต่การเร่งความเร็วในการประมวลผล น่าจะเป็นใน ส่วนของ Dual Core CPU มากกว่า

แต่การทำให้ Dual Core CPU สามารถใช้งานได้ดีและเต็มประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างมากที่ software ที่เราใช้ต้องสนับสนุน

ระบบ Multiprocessor ด้วยเช่นกัน สรุป คือ window 32 bit กับ 64 bit ไว้ว่า มันก็เหมือนถนน 2 เลน กับ ถนน 4 เลน

ต่างกันที่ถนน 4 เลนทำให้รถวิ่งได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่ารถจะวิ่งได้เร็วขึ้น 

23โปรแกรมลับ ใน Win XP

คุณรู้ไหมครับ ว่า Windows XP มีโปรแกรมซ่อนอยู่ตั้ง 23 โปรแกรม ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักมันมาจากการที่จำเป็นต้องใช้มันนั้น เราจะไม่มีทางได้ใช้มันเลย เพราะบางโปรแกรม มันไม่อยู่ใน StartMenu ให้เรากด บางโปรแกรมถึงติดตั้งมาโดยที่เอาออกไม่ได้ บางโปรแกรมเป็นโปรแกรมที่มาจากวินโดว์รุ่นก่อน (ทั้งๆที่ XP ก็มีโปรแกรมนั้นแล้ว) มาดูกันว่า 23 โปรแกรมนั้นมีอะไรบ้าง
วิธีการใช้ก็เข้าที่ Start -> Run -> พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้

charmap.exe = Character Map (มีประโยชน์มากสำหรับใช้พิมพ์อักขระพิเศษ)
cleanmgr.exe = Disk Cleanup (เอาไว้ทำความสะอาดหรือ Clear พื้นที่)
clipbrd.exe = Clipboard Viewer (ดูข้อมูล ในคลิปบอร์ด)
drwtsn32.exe = Dr Watson (โปรแกรมที่ใช้ตัวสอบว่าวินโดว์มีปั*หาเพราะอะไร)
dxdiag.exe = DirectX diagnosis (โปรแกรมตรวจสอบอุปกรณ์ว่า สนับสนุน DirectX หรือไม่ และแสดงรายชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้อง)
eudcedit.exe = Private character editor (โปรแกรมที่อนุ*าตให้เราแก้ไขฟอนต์ หรือทำฟอนต์เองได้)
iexpress.exe = IExpress Wizard (โปรแกรมที่สร้างไฟล์ Setup ของวินโดว์ เอาไว้สำหรับคนที่เขียนโปรแกรมบนวินโดว์)
mobsync.exe = Microsoft Synchronization Manager (โปรแกรมที่คอยเก็บหน้าเว็บ หรือไฟล์บนเครือข่าย เอาไว้ดูตอน offline ได้)
mplay32.exe = Windows Media Player 5.1 (โอ้ Windows Media Player รุ่นคุณปู่)
odbcad32.exe = ODBC Data Source Administrator (โปรแกรมไว้จัดการกับดาต้าเบต)
packager.exe = Object Packager (โปรแกรมที่ใส่พวก Objects ต่างๆ ลงในไฟล์)
perfmon.exe = System Monitor (โปรแกรมนี้ มีประโยชน์มาก ไว้ตัวสอบประสิทธิภาพของวินโดว์)
progman.exe = Program Manager (เชลล์ไฟล์ของวินโดว์ 3.11)
rasphone.exe = Remote Access phone book (โปรแกรมที่เอาไว้ ติดต่อหรือเข้าถึงข้อมูลของสมุดที่อยู่ ในเครื่องอื่น)
regedt32.exe = Registry Editor [เหมือนกับ regedit.exe] (ไว้ใช้สำหรับแก้ไข Registry ของวินโดว์)
shrpubw.exe = Network shared folder wizard (สร้างแชร์โฟดเดอร์บนเครือข่าย)
sigverif.exe = File siganture verification tool (โปรแกรมตรวจสอบ signature ของไฟล์)
sndvol32.exe = Volume Contro (โปรแกรมไว้ปรับระดับเสียงไง อันเดียวกับรูปลำโพงตรง tray icon)
sysedit.exe = System Configuration Editor (โปรแกรมแก้ไข system.ini กะ win.ini)
syskey.exe = Syskey (Secures XP Account database ? เป็นโปรแกรมที่ใช้ เข้ารหัส รหัสผ่านของวินโดว์ กรุณาใช้อย่างระมัดระวัง)
telnet.exe = Microsoft Telnet Client (โปรแกรม telnet)
verifier.exe = Driver Verifier Manager (โปรแกรมตรวจสอบ driver ต่างของวินโดว์ ใช้สำหรับคนที่มีปั*หาเรื่องไดร์เวอร์)
winchat.exe = Windows for Workgroups Chat (โปรแกรม chat รุ่นคุณปู่ มีเฉพาะในวินโดว์ ตระกูล
ขอบคุณความรู้จากเว็บbitเพื่อนบ้านครับ

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไฟล์ .flac คืออะไร ?

ไฟล์ .flac เป็นไฟล์เสียงเพลงที่ถูกบีบอัดแบบไม่เสียคุณภาพครับ
แปลงเป็น .wav ก็ได้เวลาฟัง หรือ .mp3 ถ้าไม่คิดมากเรื่องคุณภาพเสียงที่หายไป
ถ้าเพลงจากCDของไทย ลองแปลงเป็น mp3 กับ wav แยกยากว่าอันไหน mp3 อันไหน wav
แต่เพลงบรรเลง จะสังเกตได้ชัดเจนกว่า

อธิบายง่ายๆ ไฟล์ .flac มันคือไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัดแบบไม่เสียคุณภาพครับ


การเล่นไฟล์ .flac

ไฟล์ .flac ต้องมี code สำหรับเล่นครับ ถ้ามีแล้วโปรแกรมไรก็เปิดได้
แต่ปกติแล้วพวก version ใหม่ๆจะมีมาให้ในตัวแล้ว สามารถเล่น ไฟล์ .flac ได้เลย


เริ่ม .. เรื่องคือ ได้ไปโหลดงานเพลงที่เป็น ไฟล์ .flac และ อยากจะไลท์ใส่แผ่น ไว้ฟังในเครื่องเล่น cd แต่ Nero ไม่ยอมให้ไลท์ เพราะขาดปลั๊กอิน
เลยลองถามอากู๋(Google) เลยไปเจอโปรแกรม ที่ดีอีกตัวนึง และง่ายมากจึงเขียนมาแนะนำ
เผื่อมีใครมีความต้องการฟังเพลง .flac ในเครื่องเล่นเพลงทั่วไป และ ไม่อยากยุ่งยากในการหา ปลั๊กอินของ Nero (เด๋วมันจะเพี้ยน)

คือโปรแกรม foobar

foobar2000 เป็นโปรแกรมฟังเพลงและจัดการเพลงที่

ดีมากๆ แต่ใช้ยากนิดหน่อยกับหน้าตาสุดเห่ย แต่แฝง

ไปด้วยความสามารถที่สุดยอด
เสียงที่ชัดสะอาด เสียงกลางดีกว่าโปรแกรมยอดนิยม

สามารถลง components ได้หลากหลาย สามารถเปิด

cue sheet ได้รองรับ code ได้ทุก code

1. ดาวน์โหลดโปรแกรมจากที่นี่ครับ --->

http://www.foobar2000.org/download

2. ดาวน์โหลด component write CD --->

http://www.foobar2000.org/components/view/foo

_burninate
    - แตกไฟล์zipแล้วก๊อบปี้ไปไว้ในโฟลเดอร์

โปรแกรมที่ลงไว้ c:/program

files/foorbar2000/components
    - สามารถไรท์เพลงที่ชอบใส่แผ่นได้เลย ไม่ต้องไป

ไรท์ผ่าน Nero(แต่ต้องมีโปรแกรม Nero อยู่ในเครื่อง

ด้วยนะ)
    - ไม่ว่าจะเพลงๆเดียว หรือเพลงหลายเพลง หรือทั้ง

playlist ก็ได้ทั้งนั้น

3. ไฮไลท์ไฟล์เพลงที่ต้องการจะไรท์ คลิ๊กขวาแล้ว

เลือก convert > write audio cd




- พอกดแล้วจะมีหน้าต่างให้เลือกเครื่องไรท์แล้วก็ความ

เร็ว (ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ Dither ด้วย จะทำให้เสียงดี

ขึ้น(บางเว็บบอกมา))






ผมลองทำแล้วครับผ่าน เสียงดีเลยครับ (ขอบคุณต้น

ฉบับ บาง
ส่วนที่นำมาเผยแพร่ ให้เพื่อนได้นำไปใช้)