วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การติดตั้งไดรเวอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปจากแผ่นติดตั้งที่ให้มาพร้อมตัวอุปกรณ์

ติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
            หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์หลักส่วนใหญ่อย่าง คีย์บอร์ด เมาส์ ไดรว์ซีดีรอม ฮาร์ดดิสก์  หรือฟล็อปปี้ดิสก์  จะพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยไดรเวอร์หรือโปรแกรมเพิ่มเติมทั้ง นี้ก็ด้วยคุณสมบัติ Plug and Play (PnP) ของอุปกรณ์ที่สามารถแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของตัวเองแก่ BIOS และระบบปฏิบัติการได้ รวมทั้งความสามรรถของระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่ ๆ ที่ช่วยตรวจสอบและติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ต่างรุ่นจากต่างผู้ผลิตกันมักจะมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่าง กันออกไปด้วย ทั้งระบบปฏิบัติการเองก็คงไม่สามารถตระเตรียมมไดรเวอร์มาให้กับอุปกรณ์ทุก ร่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงที่มาพร้อมกับอุปกรณ์แทนดัง นั้น ในบทนี้จึงขออธิบายขั้นตอน และวิธีการในการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ลำดับในการติดตั้งไดรเวอร์
            สำหรับการบู๊ตเครื่องครั้งแรกภายหลังการติดตั้ง Windows เสร็จใหม่ ๆ จะมีการตรวจพบอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด เช่น ชิปเซ็ต พอร์ต  USB  ฯลฯ และติดตั้งไดรเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ  ซึ่ง Windows อาจจะถามหาแผ่นไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์บางตัวด้วย โดยที่คุณอาจจะตอบปฏิเสธการติดตั้งไดรเวอร์ไปก่อนแล้วมาติดตั้งด้วยตัวเองใน ภายหลังก็ได้  ตามขั้นตอนดังรูปในหน้าถัดไป
11
            การติดตั้งไดรเวอร์จะเริ่มจากไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดก่อน (ถ้ามี) เนื่องจากเป็นตัวกลางหลักที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ อีกที จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน ไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดนี้หมายรวมถึงไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย จากนั้นบู๊ตเครื่อง  1  ครั้งเพื่อให้ไดรเวอร์ถูกโหลดและทำงานเสียก่อนจึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อื่น ๆ ต่อ
            ลำดับถัดมาที่ควรจะติดตั้งคือไดรเวอร์การ์ดแสดงผล ซึ่งเป็นไดรเวอร์ที่จำเป็นรองจากเมนบอร์ดพร้อมทั้งสามารถติดตั้งไดรเวอร์ของ จอภาพต่อเนื่องไปด้วยก็ได้ หลังจากติดตั้งเสร็จ บู๊ตเครื่องและปรับตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าจอเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ต่อไปโดยจะติดตั้งตัวไหนก่อนหลังอย่างไรก็ไม่มีปัญญาแล้ว



โดยมากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ซื้อมามักจะมีแผ่นซีดีไดรเวอร์ติดมาให้ด้วย ซึ่งภายในนอกจากจะบรรจุไฟล์ไดรเวอร์มาให้แล้ว  ก็ยังอาจจะสอดแทรกโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities) พิเศษต่างๆ แถมมาให้ในแผ่นด้วยสำหรับการติดตั้งไดรเวอร์ด้วยวิธีการนี้นั้นง่ายมาก  เพียงคลิกเมาส์ที่เมนูหลักภายในแผ่นและปฏิบัติตามขั้นตอนที่โปรแกรมแนะนำไม่ กี่ครั้งก็สามารถติดตั้งไดรเวอร์ได้เรียบร้อย  ซึ่งวิธีการนี้ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ใด ๆ เช่น เมนบอร์ด, การ์ดแสดงผล, การ์ดเสียง, การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน ล้วนแล้วแต่มีขั้นตอนการติดตั้งที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ติดตั้งง่ายเพียงคลิกเมาส์ไม่กี่ครั้งก็เรียบร้อย
            ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างขั้นตอนการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์หลัก ๆ 3 อุปกรณ์ นั่นคือ เมนบอร์ด, การ์ดแสดงผล  และการ์ดเสียง โดยแต่ละอุปกรณ์จะมีขั้นตอนในการติดตั้งไดรเวอร์ดังนี้
การติดตั้งไดรเวอร์ของเมนบอร์ด
            เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสลับซับซ้อนและประกอบไปด้วยชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่างๆ มากมายซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ชิปเซ็ต และอุปกรณ์แบบออนบอร์ดต่างๆ เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์หลายตัวมาควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ต่างๆ เหล่านี้
            ดังนั้นในการติดตั้งไดรเวอร์ของเมนบอร์ด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบัน) อาจจำเป็นจะต้องติดตั้งไดรเวอร์หลายตัวเพื่อให้เมนบอร์ดสามารถทำงานไอย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งขั้นตอนในการติดตั้งไดรเวอร์ของเมนบอร์ดมีดังนี้ (ตัวอย่างนี้เป็นการติดตั้งไดรเวอร์ของเมนบอร์ดยี่ห้อ ASUS  รุ่น P5GDC-V Deluxe)
            หลังจากใส่แผ่นซีดีไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าไปในไดรว์ซีดีรอมแล้ว โดยปกติจะทำงานในแบบ Autorun คือ เปิดเข้าสู่หน้าจอเมนูหลักของการติดตั้งไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ ดังรูป
เลือกติดตั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ต่างๆ
 
คลิกเพี่อเข้าสู่เมนู
ติดตั้งไดรเวอร์



1.  คลิกแท็บ Drivers  เพื่อเลือกการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนกบอร์ด (Utilities  คือ โปรแกรมอรรถประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตแถมมาให้, Manuals คือ คู่มือการติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดและ  Contact คือ ที่อยู่ / อีเมล์/ เว็บไซท์หรือเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อกับบริษัทผู้ผลิต)
            2.  คลิกเลือกที่เมนูเพื่อติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์บนเมนบอร์ด เช่น ซิปเซ็ต, ซิปเสียง (Sound Onboard), ซิปเร่งความเร็วในการประมวลผลกราฟิก, ซิป Gigabit Ethernet, ซิป Raid  และอื่น ๆ โดยปฏิบัติตามขั้นตอน  ที่โปรแกรมแนะนำ  (ในบางขั้นตอนเมื่อติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์บางตัวเสร็จสิ้น โปรแกรมติดตั้งอาจให้เราบู๊ตเครื่องใหม่เพื่อให้ไดรเวอร์ที่ติดตั้งลงไป สามารถใช้งานได้)



ในการติดตั้งไดรเวอร์ของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ บางยี่ห้อในปัจจุบัน มักจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการติดตั้งไดรเวอร์ โดยผู้ใช้สามารถคลิกปุ่มเพียงปุ่มเดียวเพื่อให้โปรแกรมตรวจสอบ  และติดตั้งไดรเวอร์ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับเมนบอร์ดรุ่นนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ  เช่นดังรูป เมื่อเราคลิกปุ่ม Xpress Install ไดรเวอร์ทั้งหมดที่จำเป็นจะถูกติดตั้งให้อย่างครบถ้วนเบ็ดเสร็จโดยอัตโนมัติ

การติดตั้งไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผล
            การติดตั้งไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผลก็จะมีขั้นตอนและวิธีการที่คล้ายกกับการ ติดตั้งไดรเวอร์ของเมนบอร์ด โดยหลังจากใส่แผ่นซีดีไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผลเข้าไปในไดรซีดีรอมแล้ว  แผ่นซีดีจะถูกเปิดเข้าสู่หน้าจอเมนูหลักของการติดตั้งไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ  (ดังรูป) ตัวอย่างนี้เป็นการติดตั้งไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผลยี่ห้อ Lemel ที่ใช้ซิปประมวลผลกราฟิกของ ATi Radeon รุ่น X300
1.  คลิกที่เมนู ATI Easy  Install  เพื่อติดตั้งไดรเวอร์ให้กับการ์ดแสดงผลที่ใช้ชิปของ ATi  จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนที่โปรแกรมแนะนำ  (เมื่อติดตั้งไดรเวอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมติดตั้งอาจให้เราบู๊ตเครื่องใหม่เพื่อให้ไดรเวอร์ที่ติดตั้งลงไป สามารถใช้งานได้)

            2.  หลังจากบู๊ตเครื่องเสร็จ เมื่อกลับเข้าสู่หน้าจอ Windows ให้เราคลิกขวาบนหน้าจอเลือก Properties เพื่อเข้าไปตั้งค่า (Settings) ความละเอียดบนหน้าจอ (Screen Resolution) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
            3.  จากนั้นคลิกปุ่ม Advanced
           4.  คลิกกแท็บ Monitor  เพื่อเข้าไปตั้งค่าอัตราการรีเฟรชบนหน้าจอ (Screen Drefresh drate) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
            5.  เมื่อเสร็จสิ้น คลิกปุ่ม  OK  จนกลับมาสู่หน้าจอ Windows  ตามปกติ
Note :
            

           
            กำหนดค่า Screen Resoludtion และ Screen Refresh Rate อย่างไรให้เหมาะสมสำหรับจอแสดงผลแต่ละแบบ
{  จอแสดงผลแบบ CRT (Cathode Ray Tube)

ความละเอียดในการแสดงผล(Screen Resolution)
ถ้าเป็นจอขนาด 15 นิ้ว ความละเอียดที่เหมาะสมคือ 800600 Pixels แต่ถ้าเป็นจอขนาด 17 นิ้ว ความละเอียดที่เหมาะสมคือ 1024  768 Pixel  เป็นต้น
อัตราการรีเฟรชภาพบนหน้าจอ
(Screen Refresh  Rate)
ควรกำหนดไว้ที่ 72 Hz  ขึ้นไป เพราะถ้ากำหนดไว้น้อยกว่านี้จะทำให้ภาพบนหน้าจอกะพริบอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้สายตาเมื่อยล้าและอาจปวดหัวได้
            
            
{  จอแสดงผลแบบ LCD ( Liquid Crystal Display)

ความละเอียดในการแสดงผล(Screen Resolution)
จำเป็นจะต้องกำหนดให้พอดี หรือเหมาะสมกับค่า Native Resolution ของจอภาพแบบ LCD ที่ระบุไว้ในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ เช่น จอภาพแบบ LCD ยี่ห้อ  Samsung รุ่น SyncMaster 151s มีค่า Native Resolution ที่เหมาะสมคือ 1024  768 Pixel เป็นต้น
อัตราการรีเฟรชภาพบนหน้าจอ
(Screen Refresh  Rate)
สำหรับจอภาพแบบ LCD ไม่จำเป็นต้องปรับหรือคำนึงถึงค่านี้ เพราะการปรับไม่มีผลต่อจอ LCD เนื่องจากไม่มีการสร้างภาพใหม่ซ้ำ ๆ กันเหมือนจอ CRT ดังนั้นจึงมีแต่ค่าสูงสุดที่รับได้เท่านั้น (โดยมากจะอยู่ที่ประมาณ 60-70 Hz)

การติดตั้งไดรเวอร์ของการ์ดเสียง
            ในบางครั้งอุปกรณ์ที่ซื้อมาภายในกล่องที่บรรจุอาจมีแผ่นซีดีแถมมาให้มากมาย ทั้งแผ่นไดรเวอร์แผ่นโปรแกรม Utilities, แผ่นตัวอย่างเกมส์ ฯลฯ ดังนั้นเวลาจะติดตั้งไดรเวอร์ก็ควรเลือกแผ่นให้ถูกต้องด้วยโดยสังเกตได้จาก ข้อความที่กำกับไว้บนแผ่นซีดี เช่น Indstallation CD เป็นต้น
            หลังจากใส่แผ่นซีดีไดรเวอร์ของการ์ดเสียงเข้าไปในไดร์ซีดีรอมแล้วแผ่นซีดีจะ ถูกเปิดเข้าสู่หน้าจอเมนูหลักของการติดตั้งไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ (ดังรูป) ในตัวอย่างนี้ เป็นการติดตั้งไดรเวอร์ของการ์ดเสียงยี่ห้อ  Creative รุ่น Sound Blaster Audigy
          {  Full  Installation ติดตั้งแบบเต็ม (ครบถ้วนสมบูรณ์) ทั้งไดรเวอร์, โปรแกรมเสริมหรือปรับแต่งการทำงาน, ไฟล์ตัวอย่าง (Demo) และอื่น ๆ
            {  Custom Installation  ติดตั้งแบบกำหนดด้วยตัวเอง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งส่วนประกอบใดลงไปบ้าง
            {  Drivers Only ติดตั้งเฉพาะไดรเวอร์ของการ์ดเสียงเท่านั้น (ไม่เปลืองเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์) ในที่นี้คลิกเลือก Drivers Only จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนที่โปรแกรมแนะนำ


รู้จักกับ Device  Manager
            ใน  Windows 95/98 ME, XP และ Vista  สามารถแสดงรายการอุปกรณ์ต่างๆ ได้  เพื่อให้ทราบว่ามีอะไรอยู่ในเครื่องบ้างที่ Windows รู้จักและสามารถใช้งานได้ รวมทั้งถ้ามีอุปกรณ์ใดที่มีปัญหาหรือขาดไดรเวอร์ ทำให้งานไม่ได้  ก็สามารถตรวจสอบได้ที่นี่  ซึ่งทำได้โดยการเปิด Control Panel ขึ้นมาแล้วดับเบิลคลิกที่ไอคอน System หรืออีกวิธีคือ คลิกขวาที่ไอคอน My Computer บนเดสก์ท็อปแล้วเลือกเมนู Properties  ก็ได้ จากนั้นก็คลิกที่แท็บ Device Manager (ในกรณีของ Windodws 95/98 / Me) หรือคลิกที่กแท็บ Hardware ก่อน (กรณีของ Windows XP) แล้วคลิกที่ปุ่ม Device Manager ก็จะเข้าสู่หน้าต่างแสดงรายการอุปกรณ์ต่างๆ ได้
            ในหน้าต่าง Device Manager ของ Windows 95/98 ME ตัวเลือก 2 ตัวที่เห็นหมายถึง รูปแบบการแสดงหมวดหมู่ของอุปกรณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
            {  View devices by type แสดงโดยแบ่งตามประเภทของอุปกรณ์
            {  View devices by connection  แสดงตามโครงสร้างการต่อพ่วงจริงของอุปกรณ์
            ส่วนรูปแบบแสดงหมวดหมู่ของอุปกรณ์ในหน้าต่าง Device Manager ของ Windows XP นั้นจะอยู่ที่เมนู View
            การแสดงรายการอุปกรณ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเครื่องนี้จะจัดไว้เป็นหมวดหมู่ ถ้าต้องการดูรายการอุปกรณ์ในหมวดใดก็ดับเบิลคลิกที่หมวดนั้น ๆ หรือคลิกที่เครื่องหมายบวกด้านหน้าก็ได้ และหากต้องการดูรายละเอียดของอุปกรณ์ตัวใดก็ดับเบิลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้น ได้  ซึ่งก็เทียบเท่ากับการเลือกแล้วคลิกที่ปุ่ม Properties นั่นเอง และในรายการอุปกรณ์บางรายการที่แสดงอยู่อาจจะมีเครื่องหมายแปลกๆ วาดทับรูปไอคอนอยู่ด้วยก็ได้ นั่นก็คือ เครื่องหมายที่ใช้บอกความหมายพิเศษของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบคือ

รูปเครื่องหมาย
ความหมาย
Ñ กากบาทสีแดง รายการนั้นถูกปิด (Disable) ไม่ให้ใช้งาน
!    เครื่องหมาย !  สีดำในพื้นที่
วงกลมสีเหลือง
คอนดกฟิกูเรชั่นของรายการนั้นขัดแย้งกับรายการอื่น หรือไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ และไม่สามารถทำงานได้


รหัสความผิดพลาดทางฮาร์ดแวร์
            รายละเอียดปัญหาในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Windows จะแสดงอยู่ในรายการอุปกรณ์ในแท็บ Device Manager ของ System Properties  โดยมีสัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมายตกใจเล็กๆ อยู่ในวงกลม สีเหลือง !  หรือกากบาทแดง Ñ เพื่อกำกับอุปกรณ์ที่มีปัญหา เมื่อเลือกที่อุปกรณ์นั้น แล้วคลิกที่ปุ่ม Properties  หรือดับเบิลคลิก จะเห็นข้อมูลปัญหาพร้อมทั้งรหัสความผิดพลาดอยู่ในแท็บ General (ดังรูป)
55           
           ตารางต่อไปนี้จะแสดงรหัสความผิดพลาดทางฮาร์ดแวร์ที่ไมโครซอฟท์ใช้อ้างอิงถึง ใน Device Manager  นี้ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหากับรหัสความผิดพลาดบางตัวด้วย

รหัสความ
ผิดพลาด
ความหมาย
98/ME/
2000
XP
1
Windows ยังไม่มีโอกาสกำหนดคอนฟิกูเรชั่นให้กับอุปกรณ์
P
P
2
ตัวโหลดดีไวซ์ (Device Loader) ไม่สามารถโหลดดีไวซ์ไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์นั้นได้
P
Ï
3
หน่วยความจำไม่เพียงพอ (run out of memory)
P
Ï
4
ไฟล์ .INF ของอุปกรณ์นั้นมีปัญหาเกิดขึ้นและใช้งานไม่ได้ให้ลองลบแล้วติดตั้งใหม่อีก ครั้ง ถ้ายังไม่หายต้องหาไดรเวอร์ใหม่มาใช้ หรือลองตรวจสอบข้อมูลในไฟล์ .INF เอง
P
Ï
5
ไม่มี Resource Arbitrator เพื่อจัดการกับทรัพยากรที่อุปกรณ์นั้นขอมา
P
Ï
6
มีความขัดแย้งกับอุปกรณ์ตัวอื่นเกิดขึ้น
P
Ï
7
ไม่สามารถกำหนดคอนฟิกูเรชั่นให้กับอุปกรณ์นั้นได้ เพราะมีปัญหาเกิดขึ้นจากตัวอุปกรณ์เอง
P
Ï
8
ไม่พบตัวโหลดดีไวซ์ของอุปกรณ์นั้น เช่น ระบุชื่อไฟล์ที่เป็นตัวโหลดดีไวซ์ไม่ถูกต้อง
P
Ï
9
ข้อมูลของอุปกรณ์ตัวนั้นใน Registry ไม่ถูกต้อง
P
Ï




รหัสความ
ผิดพลาด
ความหมาย
98/ME/
2000
XP
10
ไม่สามารถสั่งให้อุปกรณ์เริ่มต้นทำงานได้ ลองตรวจสอบการเสียบอุปกรณ์หรือการ์ดอะแดปเตอร์ของอุปกรณ์นั้นดูว่าเรียบร้อยหรือไม่
P
P
11
อุปกรณ์ทำงานไม่ได้
P
Ï
12
Resource Arbitrator บางตัวมีปัญหา อาจเกิดขึ้นได้เมื่อระบบมีทรัพยากรให้ใช้ได้ไม่เพียงพอ หรือทรัพยากรที่ต้องการถูกอุปกรณ์ตัวอื่นใช้งานอยู่และไม่คืนกลับมาให้
P
P
13
มีปัญหาเกิดขึ้นกับดีไวซ์ไดรเวอร์
P
Ï
14
รหัสความผิดพลาดเพื่อแจ้งว่าการบู๊ตเครื่องใหม่อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้
P
Ï
15
ทรัพยากรที่อุปกรณ์ใช้อยู่ไปขัดแย้งกับทรัพยากรของอุปกรณ์ตัวอื่น
P
Ï
16
การตรวจหาอุปกรณ์ตัวนั้นยัง ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่อาจกำหนดดอนฟิกูเรชั่นให้กับอุปกรณ์นั้นได้ คุณอ่านจะลองกำหนดทรัพยากรให้ด้วยตัวเองโดยอ่านจากคู่มือของอุปกรณ์
P
P
17
อุปกรณ์นั้นเป็นแบบ multi-function แต่ไฟล์ .INF ของอุปกรณ์มีข้อมูลไม่เพียงพอในการแบ่งทรัพยากรให้กับแต่ละฟังก์ชั่น (ซึ่งจะถูกมองเป็นเวอร์ชวลดีไวซ์)
P
Ï
18
มีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น ต้องติดตั้งใหม่
P
P
19
ค่าที่ตอบกลับมาจาก Registry ไม่สามารถตีความได้
P
P
20
ตัวโหลด VxD (VxD Loader) ส่งค่าที่ไม่สามารถตีความได้กลับมาอาจเกิดขึ้นได้จากเวอร์ชั่นที่ไม่สอด คล้องกันของดีไวซ์ไดรเวอร์กับ Windowds
P
Ï

รหัสความ
ผิดพลาด
ความหมาย
98/ME/
2000
XP
21
รหัสความผิดพลาดเพื่อแจ้งว่าการบู๊ตเครื่องใหม่อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้
P
P
22
อุปกรณ์ถูกปิดการใช้งาน ผdisabled) อยู่
P
P
23
รหัสนี้แสดงว่าตัวโหลดได้ หน่วง (delay)การสั่งให้อุปกรณ์เริ่มต้นการทำงานไว้แล้วไม่สามารถแจ้งให้ Windows รับรู้ได้เมื่อพร้อมที่จะสั่งให้อุปกรณ์เริ่มทำงาน
P
Ï
24
ไม่พบอุปกรณ์ อาจเกิดจากอุปกรณ์นั้นไม่ทำงานหรือทำงานไม่ปกติ
P
P
25
รหัสนี้จะเกิดขึ้นกับการ บู๊ตเครื่องแรกของ Windows ระหว่างการติดตั้งเท่านั้น โดยผู้ใช้จะไม่ได้รับรู้ความผิดพลาดนี้ (น่าจะหมายถึงการที่ไม่มีข้อมูลคอนฟิกูเรชั่นของอุปกรณ์ใด ๆ อยู่ใน Registry เลย) Windows จะค้นหาอุปกรณ์และติดตั้งให้เองโดยอัตโนมัติ
P
Ï
26
ไม่สามารถโหลดดีไวซ์ไดรเวอร์ได้ อาจเป็นเพราะไฟล์ไดรเวอร์เสียก็ได้
P
Ï
27
ข้อมูลการกำหนดทรัพยากรของอุปกรณ์ที่อยู่ใน Registry ไม่ถูกต้อง
P
Ï
28
การติดตั้งอุปกรณ์ตัวนี้ยังไม่สมบูรณ์
P
P
29
อุปกรณ์ถูกปิดการใช้งาน เนื่องจากไม่ทำงานตามปกติ และไม่สามารถแก้ไขให้ทำงานได้ด้วย Windows อาจเกิดจากค่าของอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ในไบออส
P
P


รหัสความ
ผิดพลาด
ความหมาย
98/ME/
2000
XP
30
ไม่สามารถใช้ IRQ ที่กำหนดให้ใช้ร่วมกันได้ ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นจากการ์ด PCI หรือ EISA ที่กำหนดให้ใช้ IRQ ร่วมกันถูกดีไวซ์ไดรเวอร์แบบเรียลโหมดจอง IRQ นั้นไว้แล้วและ Windows ไม่สามารถดึงกลับมาได้
P
Ï
31
ไม่สามารถโหลดไดรเวอร์ของอุปกรณ์ตัวนี้ได้ ให้ update driver โดยใช้ Trobleshooting Wizard
P
P
32
ไดรเวอร์ถูก Disable ให้ uninstall driver และ Scan for hardware change เพื่อติดตั้งใหม่
P
P
33
ไม่สามารถกำหนดค่าให้กับอุปกรณ์ได้ ติดต่อผู้ขายเพื่อตั้งค่าหรือเปลี่ยนอุปกรณ์
P
P
34
ไม่สามารถกำหนดค่าให้กับอุปกรณ์ได้ ให้ตั้งค่าเองตามคู่มือของอุปกรณ์
Ï
P
35
BIOS ไม่รองรับอุปกรณ์นี้ ให้  update BIOS
Ï
P
36
มีการกำหนด Interrupt ผิดประเภทระหว่าง PCI กับ ISA ใช้ BIOS กำหนดค่า IRQ ที่ถูกต้อง
Ï
P
37
device driver ไม่ทำงาน uninstall แล้ว Scan for hardware change เพื่อติดตั้งใหม่
Ï
P
38
โหลดไดรเวอร์ไม่ได้เนื่องจากมีไดรเวอร์โหลดไว้แล้ว ให้บู๊ตเครื่องใหม่
Ï
P
39
โหลดไดรเวอร์ไม่ได้เนื่อง จากไดรเวอร์เสียหรือหายไป ให้ uninstall driver และติดตั้งอุปกรณ์แล้ Scan for hardware change เพื่อติดตั้งใหม่
Ï
P
40
โหลดไดรเวอร์ได้แต่ไม่พบอุปกรณ์ให้ uninstall driver และติดตั้งอุปกรณ์แล้ว Scan for hardware change เพื่อติดตั้งใหม่
Ï
P
รหัสความ
ผิดพลาด
ความหมาย
98/ME/
2000
XP
41
โหลดไดรเวอร์ได้แต่ไม่พบอุปกรณ์ ให้ uninstall driver และติดตั้งอุปกรณ์แล้ว Scan for hardware change เพื่อติดตั้งใหม่
Ï
P
42
โหลดไดรเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากพบอุปกรณ์ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการตรวจสอบพบอุปกรณ์นั้นอีกครั้งหลังจากที่เคยพบไปแล้ว ให้บู๊ตเครื่องใหม่
Ï
P
43
อุปกรณ์ถูกสั่งให้หยุดทำงาน เนื่องจากพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น
Ï
P
44
อุปกรณ์ถูกสั่งให้ปิดการทำงานให้บู๊ตเครื่องใหม่
Ï
P
45
อุปกรณ์ไม่ได้ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมอุปกรณ์นั้นใหม่
Ï
P
46
ไม่สามารถใช้อุปกรณ์นี้ได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการ Shutdown
Ï
P
47
อุปกรณ์อยู่ระหว่างการให้ปลดออก เนื่องจากมีการสั่ง safe removal แต่ยังไม่ได้ปลดออก ให้ถอดออกแล้วเสียบใหม่
Ï
P
48
อุปกรณ์ถูกห้ามใช้ เนื่องจากทำให้ Windows มีปัญหาให้หาไดรเวอร์ใหม่มาติดตั้ง
Ï
P
49
ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวใหม่ ได้ เนื่องจาก Registry มีขนาดใหญ่เกิน ให้พยายาม uninstall อุปกรณ์ที่ไม่ใช้ออก ถ้าไม่สำเร็จให้ติดตั้ง windows ใหม่
Ï
P
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น